สมาคมกุมารแพทย์ของอเมริกา และ สมาคมแพทย์พัฒนาการเด็กของประเทศแคนาดากล่าวว่า
..เหตุผล 9 ประการที่ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
อยากจะเขียนมานาน เพราะมองเห็นครอบครัวที่น่ารักนั่งรอตรวจที่โรงพยาบาลทุกๆวัน จะต้องมีคุณพ่อคุณแม่หยิบยื่นโทรศัพท์, Tablet ให้เด็กเล่นไม่ก็ชวนลูกดูทีวี เห็นแล้วมันจี๊ดดดดดด ค่ะ
สมาคมกุมารแพทย์ของอเมริกา และ สมาคมแพทย์พัฒนาการเด็กของประเทศแคนาดากล่าวว่า
“0-2 ปี ยังไม่ควรให้จับต้องเทคโนโลยี”
“3-5 ปี ให้เล่นได้ 1 ชั่วโมงต่อวัน”
“6-18 ปี 2 ชั่วโมงต่อวัน”
ไม่รู้จะกล่าวอย่างไรดี ขนาดเด็กปกติที่ได้เล่นของพวกนี้ยังมีผลเสียต่อพัฒนาการ....นี่ซ้ำร้ายยังเป็นเด็กที่มาปรึกษาเรื่องพัฒนาการยิ่งแล้วใหญ่ พอเข้ามาคุยกัน ก็พบว่าคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ก็ทราบถึงผลที่เกิดขึ้นดี แต่ก็ยังให้เด็กเล่นซะงั้น..... หรือบางที อาจเพราะเราไม่เห็นภาพผลเสียชัดเจน วันนี้จึงขอรวบรวมงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำมาเรียบเรียงให้ได้อ่านกันค่ะ เผื่อภาพมันจะชัดขึ้น - -*
1. วัยเด็กสมองจะโตเร็ว และยิ่งพัฒนาขึ้นเมื่อมีสิ่งแวดล้อมกระตุ้นอย่างเหมาะสม แต่การกระตุ้นโดยมือถือ ไอแพต แท็บเล็ต โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ททั้งหลาย ทำให้เกิดอาการ overexposure (กระตุ้นมากไปแล้วนะ) ผลเสียคือ executive function อันไดแก่ ไม่มีสมาธิ กระบวนการคิดไม่พัฒนาหรือพัฒนาล่าช้า บกพร่องด้านการเรียน (แหงสิ) กระตุ้นตัวเอง ไม่สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมได้
(Small 2008, Pagini 2010)
2. พัฒนาการล่าช้า เนื่องจากการจำกัดการเคลื่อนไหวเมื่อใช้เทคโนโลยี อ้างคำเดิมค่ะ “เด็กๆ เขาเรียนรู้ผ่านการเล่น” เมื่อไม่ได้เล่น เด็กก็ไม่เกิดการเรียนรู้ การทำงานกล้ามเนื้อมัดเล็ก-มัดใหญ่บกพร่อง การพูดการสื่อสารก็ล่าช้า พอพูดช้า โตมาอาจพูดไม่ชัด(อายุการพูดน้อยกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน) พูดไม่ชัดก็โดยล้อ ขาดความมั่นใจ กลายเป็นปัญหางอกขึ้นเรื่อยๆ ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และแก้ไขยากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยค่ะ (Rowan 2010)
3. ปัญหาน้ำหนักเกิน มีงานวิจัยสรุปผลว่า กว่า 30% ของเด็กที่เล่นเกม หรือคอมพิวเตอร์ในห้องนอน จะมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน และโรคอ้วนนำมาซึ่งหลายโรคค่ะ (Feng 2011)
4. มีปัญหาการนอน เด็กที่ไม่ได้นอนที่บ้านเขาจะไปนอนที่ไหน... ก็ที่โรงเรียนไงล่ะ แล้วเวลาเรียนจะทันเพื่อนไหม? หรือเด็กที่ไม่ได้นอนยังมีปัญหาหงุดหงิด อารมณ์ไม่ดี ไม่พร้อมต่อการเรียนรู้ด้วยค่ะ (Boston College 2012)
5. mental illness หรือ ปัญหาสุขภาพจิต การใช้เทคโนโลยีมากเกินไปมีผลให้เด็กเกิดภาวะซึมเศร้า, วิตกกังวล, ปัญหาด้านความสัมพันธ์, สมาธิสั้น, ปัญหาพฤติกรรม, อารมณ์สองขั้ว, โรคจิตเภทอื่นๆ (Bristol University 2010, Mentzoni 2011, Shine 2011, Robinson 2008) งานวิจัยหลายงานขนาดนี้ ฟังเขาไว้หน่อยก็ดีนะคะคุณพ่อคุณแม่
6. Aggression หรือ ความก้าวร้าว เพราะสื่อต่างๆที่เด็กได้รับ ไม่ได้รับการแนะนำหรือชี้แจง หรือแม้ชี้แจงแล้วก็เถอะ เด็กเขาก็เห็นเป็นตัวอย่างตำตาอยู่ จึงเกิดการเลียนแบบ ไม่ว่าจะเป็น คลิปตบตี ทำร้ายผู้อื่น อายุของเด็กในคลิปมันเด็กลงๆทุกวันค่ะ คุณแม่คุณพ่อคิดว่าเป็นเพราะอะไรคะ?????
7. digital dementia (dementia แปลว่า สมองเสื่อม) สื่อที่มีการกระตุ้นทำให้สมองรับรู้กับการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว และในขณะเดียวกัน มันยังลดการจดจ่อของเด็ก ซึ่งการจดจ่อนี่แหละ เป็นรากฐานของการกระบวนการจดจำ
8. Addiction การเสพติด เด็กจะผูกพันกับสื่อเทคโนโลยี มากกว่าความผูกพันในครอบครัว (Gentile 2009)
9. radiation emission การแผ่รังสีจากอุปกรณ์ต่างๆ หน่วยงานสาธารณสุข ประเทศแคนาดาแนะนำว่า “เด็กจะไวต่อสารต่างๆมากกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้นในกิจกรรมเดียวกัน อย่างไรเด็กก็เสี่ยงกว่า และไม่มีทางที่เด็กกับผู้ใหญ่จะได้รับผลกระทบเท่ากันอย่างแน่นอน” (James McNamee 2011, AAP 2013)