แสงแดดมีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยในการสร้างไวตามินดีที่ผิวหนัง แต่ก็มีผลเสียถ้าเรา ถูกรังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดดในมากเกินไปจะทำให้มีผลดังนี้คือ
"ครีมกันแดดสำหรับเด็ก จำเป็นหรือไม่"
ศิริวรรณ วนานุกูล
แสงแดดมีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยในการสร้างไวตามินดีที่ผิวหนัง แต่ก็มีผลเสียถ้าเรา
ถูกรังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดดในมากเกินไปจะทำให้มีผลดังนี้คือ
1. ผลต่อผิวหนัง ในระยะเฉียบพลันท าให้ผิวไหม้เกรียมจากแดด ส่วนผลในระยะยาว
จะทาให้ผิวหนังแก่ก่อนวัยและเกิดมะเร็งของผิวหนังได้
2. ผลต่อตา โดยมีผลต่อกระจกตา และจอตา
3. ผลต่อระบบภูมิคุ้มกันทาให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงได้บ้าง
การป้องกันไม่ให้รังสีอัลตราไวโอเลตท าลายผิวหนังของร่างกายมีความจำเป็นมาก คำแนะนำใน
การป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตในเด็กได้แก่
1. หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งในเวลาที่รังสีอัลตราไวโอเลตมากที่สุดคือ เวลา 10.00 น.
ถึง 16.00 น.
2. ถ้าจ าเป็ นต้องมีกิจกรรมในเวลาที่รังสีอัลตราไวโอเลตมาก ควรหาที่ร่มใต้ชายคาหรือ
ใต้ต้นไม้ที่ใบทึบ
3. ใส่เสื ้อผ้าเสื ้อแขนยาว กางเกงขายาวที่ทึบแสง ใช้หมวก หรือร่ม กันแสง
4. สวมแว่นตากันแดด
5. ทายากันแดดที่ป้ องกันได้ทั ้งรังสีอัลตราไวโอเลต เอ และ บี
การเลือกยากันแดด ควรเลือกที่ป้ องกันได้ทั ้งรังสีอัลตราไวโอเลต เอ และ บี โดยมีค่า sun
protection factor (SPF) ตั ้งแต่ 15 ขึ ้นไป การทาจะต้องทาไม่บางจนเกินไป ถ้าต้องการป้ องกันได้ทั ้งรังสี
อัลตราไวโอเลต บี เท่ากับค่า SPF ของผลิตภัณฑ์ ต้องทาประมาณ 2 มก./ตร.ซม. หรือเท่ากับครึ่งช้อนชาที่
ใบหน้าผู้ใหญ่ แต่โดยทั่วไปในชีวิตประจ าวันเรามักจะทาเพียง 0.5-1 มก./ตร.ซม. และถ้าต้องถูกแสงแดด
โดยตรงแนะน าให้ใช้ ยากันแดดที่มีค่าSPF อย่างน้อย 30 และให้ทาซ ้าทุก 2 ชั่วโมง
อายุที่ให้ใช้ยากันแดด ให้เริ่มใช้ในเด็กตั ้งแต่อายุ 6 เดือนขึ ้นไป ส่วนในเด็กที่อายุต ่ากว่า 6 เดือน
ควรหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดโดยตรง ให้เสื ้อผ้า หมวก และร่ม ช่วยป้ องกันรังสีอัลตราไวโอเลต ทายากัน
แดดเฉพาะบริเวณที่เสื ้อผ้าไม่สามารถปกคลุมได้เท่านั ้น
การวัดค่า sun protection factor (SPF)
SPF เป็ นการวัดความแดง (erythema) หลังจากทายากันแดดในปริมาณ 2 มก./ตร.ซม. ฉายรังสี
อัลตราไวโอเลตจนเกิดอาการแดงขึ ้น (minimal erythemadose) เปรียบเทียบกับผิวหนังที่ไม่ทายากันแดด
การวัดค่าการป้ องกันรังสีอัลตราไวโอเลต เอ ยังไม่ได้มีมาตรฐานเดียวกัน มีใช้ทั ้ง UVA protection
factor, persistent pigment darkeningและcritical wavelength
การกันน ้า
ยากันแดดโดยทั่วไปจะละลายน้ำยากันแดดชนิดทนน ้า (water-resistant) ต้องเป็นยาที่มี
ประสิทธิภาพกันแดดได้ 40 นาทีในขณะที่อยู่ในน ้า หรือชนิดทนน ้ามากมีประสิทธิภาพกันแดดได้นาน 80
นาทีในขณะที่อยู่ในน ้า
ยากันแดดแบ่งออกเป็ น 2 กลุ่มใหญ่คือ
1. Inorganic physical sunscreen ยากันแดดกลุ่มนี ้จะสะท้อนและกระจายรังสี
อัลตราไวโอเลต นิยมใช้ในเด็ก ป้ องกันได้ทั ้งรังสีอัลตราไวโอเลตเอ และ บี ยากันแดดกลุ่มนี ้
ได้แก่ Zinc oxide และ Titanium oxide
2. Organic sunscreen ท างานโดยการดูดรังสีอัลตราไวโอเลต แล้วเปลี่ยนเป็ นพลังงานที่มี
ความยาวคลื่นมากขึ ้นที่ไม่เป็ นอันตรายต่อผิวหนัง ยากลุ่มนี ้ป้ องกันรังสีอัลตราไวโอเลต บีได้
ดี บางชนิดไม่ทนแสง และมีบางชนิดที่ได้ทั ้งรังสีอัลตราไวโอเลต บี และ เอ บางส่วน
โดยสรุป การทายากันแดดมีความจ าเป็ นในเด็กเพื่อป้ องกันไม่ให้รังสีอัลตราไวโอเลตท าลายผิวหนังของ
ร่างกาย โดยการป้ องกันควรประกอบไปด้วย การหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งในเวลาที่รังสีอัลตราไวโอเลต
มาก ถ้าจ าเป็ นต้องมีกิจกรรมในเวลาดังกล่าวควรหาที่ร่มใต้ชายคาหรือใต้ต้นไม้ใบทึบ ใส่เสื ้อแขนยาว
กางเกงขายาว ที่ทึบแสง ใช้หมวก หรือร่ม กันแสง สวมแว่นตากันแดด และทายากันแดดที่ป้ องกันได้ทั ้ง
รังสีอัลตราไวโอเลตเอ และ บี
"ครีมกันแดดสำหรับเด็ก จำเป็นหรือไม่" ดาวน์โหลด กด >> https://goo.gl/ntszJa
ที่มา: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
👩🏻⚕️คลินิกกระตุ้นพัฒนาการ-ฝึกพูด นครราชสีมา